โปรแกรมร้านยาอัจริยะใช้งานง่าย Dr.Drug อัพเดตฟรีตลอดชีพ บริการหลังการขายฟรี

โปรแกรมร้านยาอัจริยะใช้งานง่าย Dr.Drug อัพเดตฟรีตลอดชีพ  บริการหลังการขายฟรี

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

โปรแกรมร้านขายยา Dr.Drug ด็อกเตอร์ดรัก ออกแบบมาเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของเภสัชกรร้านยาโดยเฉพาะ

Dr. DRUG program

โปรแกรมร้านขายยา Dr.Drug ด็อกเตอร์ดรัก ออกแบบมาเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของเภสัชกรร้านยาโดยเฉพาะ เปรียบเสมือนผู้ช่วยอัจฉริยะที่ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างรายเดือน มาพร้อมกับฟังก์ชั่นการทำงานที่ครบสมบูรณ์แบบทุกฟังก์ชั่น แต่ราคาถูก เหมาะกับร้านขายยาที่ต้องการทั้งขายปลีกและขายส่ง เพราะมีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายตอบสนองครบทุกความต้องการของธุรกิจโปรแกรมร้านขายยา
ช่วยสรุปยอดรายได้ประจำวันประจำเดือนประจำปี ช่วยตรวจสอบยอดเงินของแคชเชียร์ที่ต้องนำส่งในแต่ละวัน ยอดกำไรขาดทุนในแต่ละเดือนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระเมื่อสรุปยอดสิ้นเดือน
เรารู้ดีเป็นอย่างยิ่งว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นมากมายกับร้านขายยาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นร้านขายปลีกขายส่ง เราจึงคิดค้นแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อช่วยให้ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องง่าย
ด้วยโปรแกรมร้านขายยา Dr.Drug ด็อกเตอร์ดรัก ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้เป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว
มีระบบโปรโมชั่นช่วยส่งเสริมการขายที่ดีที่สุดเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาเป็นสมาชิกกับร้านขายยาของคุณ เช่น โปรโมชั่นซื้อ1 แถม1 /ซื้อ2 แถม1 /ซื้อ3 ลด10% และอื่นๆ อีกมากมาย
ประหยัดเวลาเพื่อไปบริหารงานอย่างอื่นเพราะ โปรแกรมร้านขายยา Dr.Drug ด็อกเตอร์ดรัก จะช่วยลดความภาระหน้าและขั้นตอนการทำงานที่ต่างๆ ให้น้อยลง
ช่วยประหยัดต้นทุนในการจัดซื้อจัดหาสินค้าจากตัวแทนจำหน่ายเนื่องจากมีระบบการประกวดราคาจากผู้ขายหรือตัวแทนจำหน่าย ทำให้คุณตัดสินใจเลือกแหล่งต้นทุนได้ง่าย
ระบบจัดการคลังยา จะช่วยตรวจเช็คยอดสต๊อกคงเหลือในคลังสินค้า และแจ้งเตือนให้มีการสั่งซื้อสินค้าเข้าคลัง เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอสำหรับลูกค้ารายละเอียดเวชภัณฑ์
โปรแกรมร้านขายยา Dr.Drug ด็อกเตอร์ดรัก เป็นโปรแกรมที่จะช่วยให้การบริหารงานร้านขายยาของคุณมีความเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ช่วยจัดการข้อมูลที่ซ้ำซ้อนต่างๆ ให้กลายเป็นข้อมูลที่ดีมีประสิทธิภาพเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น สินค้าแต่ละตัวมีการรับเข้าคลังจำนวนเท่าไหร่ ราคาทุนเท่าไหร่ สั่งซื้อจากที่ไหน ขายไปเท่าไหร่ จ่ายออกเท่าไหร่ โอนออกเท่าไหร่ คงเหลือเท่าไหร่ เป็นต้น
โปรแกรมร้านขายยา Dr.Drug ด็อกเตอร์ดรัก จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ สำหรับธุรกิจร้านยาที่คุณคิดว่ายุ่งยากในการควบคุมสต๊อก ควบคุมราคาขาย เช็คยอดรายได้ประจำวัน ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องมานั่งบริหารงานเอง คอยเป็นห่วงเรื่องเงินขาดหาย และ สินค้าสูญหาย เนื่องจาก ผู้บริหารสามารถตรวจสอบยอดขายยอดสินค้าคงเหลือออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลกผ่านอินเตอร์เน็ต
การจัดทำบัญชียา สำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 กำหนดให้จัดทำบัญชีดังนี้
1. บัญชีการซื้อยา
ให้จัดทำบัญชีการซื้อยาแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ ผลิต ชื่อผู้ขาย (ดูให้ดี กฎหมายใช้คำว่า “ผู้ขาย” คือ คนที่ไปซื้อยากับเขา ไม่ใช่ “บริษัทที่ผลิต”) ยาที่ขาย ชื่อ และปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปีที่ซื้อ และลงรายชื่อผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ตาม แบบ ข.ย. 9ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก
2. บัญชีการขายยาอันตราย
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชีการขายยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ได้กำหนดรายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชี ตาม แบบ ข.ย.11 ดังนี้
(1) ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบ ทั้งในตำรับยาเดี่ยว และยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศ ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ
(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)
(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)
(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)
(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)
(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)
(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)
(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)
ดังนั้น เซทิริซีน ไซรัป (Cetirizine Syrup), ลอราทาดีน ไซรัป (Loratadine Syrup) ไม่ต้องทำบัญชี ข.ย.11 ในขณะนี้ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก
3. บัญชีการขายยาควบคุมพิเศษ
ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 กำหนดให้จัดทำบัญชีการขายยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตาม แบบ ข.ย. 10 และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า สามปีนับแต่วันขาย ซึ่งแบบตามแบบ ข.ย. 10 ใบหนึ่งเขียนได้เฉพาะชื่อการค้าเดียวและเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิตเดียวเท่านั้น ที่สำคัญ คือ แบบ ข.ย.10 นี้ ให้ระบุชื่อผู้ซื้อด้วย) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก
4. บัญชีการขายยาตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
รายการยาที่ต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 กำหนดให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะที่เป็นขายส่ง และผู้รับอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน รายงานการขายยาตาม แบบ ข.ย.13 ทุก 4 เดือน และส่งรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด 4 เดือน โดยมีรายการยาที่ต้องทำบัญชี ข.ย.13 ดังนี้
(1) ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ
(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)
(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)
(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)
(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)
(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)
(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)
(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)
(4) ยาที่มีตัวยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) หรือทาดาลาฟิล (Tadalafil) หรือวาเดนาฟิล (Vardenafil) ในตำรับยาเดี่ยว เฉพาะที่เป็นรูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูล ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก
5. บัญชีขายยาตามใบสั่งยา
บัญชีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขายยาตามใบสั่งใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ไม่ว่ายานั้นจะเป็นประเภทใดก็ตาม และตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ให้จัดทำบัญชีการขายยาแต่ละอย่างทุกครั้งที่ขายตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยแสดงชื่อ อายุ และที่อยู่ของผู้ใช้ยา ชื่อ และที่อยู่หรือที่ทำงานของผู้สั่งยา ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตาม แบบ ข.ย. 12 และให้เก็บใบสั่งยาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันขาย และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี นับแต่วันขาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก


การกำหนดรูปแบบวิธีใช้ยาและสรรพคุณต่างๆการกำหนดรูปแบบวิธีใช้ยาและสรรพคุณต่างๆ
สามารถกำหนดหนดวิธีใช้และสรรพคุณได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อสั่งพิมพ์ฉลากยาออกทางเครื่องพิมพ์
ใบเสร็จรับเงินขนาดเล็กใบเสร็จรับเงินขนาดเล็ก
ใบเสร็จรับเงินขนาดเล็ก สำหรับระบบบริหารงานร้านขายยา ช่วยเพิ่มความสะดวกในการออกใบเสร็จรับเงิน สามารถกำหนดการตั้งค่ารูปแบบใบเสร็จได้ว่าจะให้ออกมารูปแบบไหน เช่น กำหนดให้พิมพ์หรือไม่พิมพ์รายรายยาแต่ละตัวได้ ในใบเสร็จสามารถพิมพ์แต้มสะสมคงเหลือของลูกค้าสมาชิก ซึ่งเป็นระบบโปรโมชั่นส่งเสริมการขายช่วยดึงดูดลูกค้า
มีความเร็วมากในการออกใบเสร็จการรับชำระเงินแต่ละครั้ง และยังสามารถช่วยประหยัดกระดาษได้เยอะมากเพราะไม่ต้องใช้กระดาษแบบA4 อีกต่อไป
การเข้าถึงข้อมูลทั่วโลก ผู้บริหารสามารถเข้าไปดูข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรายได้ประจำวัน สินค้าคงเหลือ ใบขอซื้อสินค้า ใบรับเข้าสินค้า และรายงานต่างๆ ได้หลากหลายช่องทางที่สะดวกและรวดเร็วด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะดูผ่านมือถือ ดูผ่านแท็บเล็ต ดูผ่านโน้ตบุ๊ก และคอมพิวเตอร์พีซี ทำให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลรวดเร็วซึ่งเป็นข้อมูลที่ล่าสุดตลอดเวลา เพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงกลยุทธ์แผนการทำงานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องการเข้าถึงข้อมูลทั่วโลก
รายงานข้อมูลออนไลน์ ระบบเชื่อมต่อข้อมูลออนไลน์ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงและเรียกดูข้อมูลต่างๆ ได้แบบ Realtime ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก ทำให้สามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลและผลลัพธ์ต่างได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นรายงานสำคัญๆ เช่น รายงานรายได้แต่ละสาขา รายงานสต๊อกคงเหลือ รายงานสินค้าที่ต้องสั่งซื้อ รายงานลูกค้าใหม่แต่ละสาขา เป็นต้นระบบเชื่อมต่อข้อมูลออนไลน์ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงและเรียกดูข้อมูลต่างๆ
ระบบเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างสาขา โปรแกรมร้านขายยา Dr.Drug ด็อกเตอร์ดรัก รองรับระบบเน็ตเวิร์ค หรือ ระบบสาขาย่อย กรณีที่มีการเปิดร้านยาหลายๆสาขาทั่วประเทศ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น ยอดรายได้ประจำวันประจำเดือนประจำปี ของแต่ละสาขา รายงานยอดสต๊อกคงเหลือแต่ละสาขา รวมไปถึงข้อมูลการสั่งซื้อและรับเข้าสินค้า สามารถทราบยอดรายได้ของแต่ละสาขาได้แบบ Realtime ที่สำคัญยังสามารถซิงค์ข้อมูลลูกค้าแต่ละสาขาได้ ดังนั้นข้อมูลลูกค้าจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่คลินิกทุกๆ สาขา ทำให้สะดวกสะบายสำหรับลูกค้าในการเข้าไปรักษาที่คลินิกแต่ละที่ ไม่ต้องเสียเวลาคีย์ข้อมูลลูกค้าใหม่โปรแกรมบริหารงานคลินิก EasyClinic รองรับระบบเน็ตเวิร์ค หรือ ระบบสาขาย่อย
เครื่องอ่านบัตรประชาชน อุปกรณ์เสริมความสะดวกสำหรับการบริหารงานคลินิก สามารถอ่านข้อมูล คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ รวมไปถึงรูปภาพประจำตัว โปรแกรมร้านขายยา Dr.Drug ด็อกเตอร์ดรัก สามารถดึงข้อมูลจากบัตรประชาชนของลูกค้าเพื่อบันทึกเก็บเป็นประวัติได้อย่างสะดวกรวดเร็วแค่ปลายนิ้ว ช่วยลดขั้นตอนการทำงานและข้อผิดพลาดต่างๆ ไปได้เยอะ ไม่ต้องเสียเวลาคีย์ข้อมูลชื่อที่อยู่ของลูกค้าอีกต่อไปเครื่องอ่านบัตรประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น